การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552 20:13 by สุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น
การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
รหัสวิชา 1036301
ดร. ประกอบ ใจมั่น
อาจารย์อภิชาต วัชรพันธ์

ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘
สถานที่ตั้ง ต. ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
ภารกิจของสถานศึกษาซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาตามหลักการกระจายอำนาจ ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กฎหมายว่าด้วยการกระจายอำนาจให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550 ได้แบ่งขอบข่ายงานของสถานศึกษา ออกเป็น4 ด้าน ซึ่งได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านบริหารทั่วไป
ซึ่งในการบริหารจัดการของแต่ละฝ่ายงานย่อมต้องการการดำเนินการจัดระบบการบริหารและสารสนเทศให้เป็นระบบ เป็นปัจจุบัน ถูกต้อง ซึ่งการจัดระบบการบริหารและสารสนเทศนั้น ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมบริบททุกด้านเพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของของสถานศึกษา จากความสำคัญของข้อมูลและระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการในสถานศึกษานั้น อาจแบ่งออกเป็น 4 ระบบคือ
1)ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
2)ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน
3)ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ
4)ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
วิสัยทัศน์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้นักเรียนมีคุณธรรม นำวิชาการ สู่มาตรฐานการศึกษายุทธศาสตร์
1. พัฒนาคุภาพผู้เรียน
2. พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
3. ปรับสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้พร้อมในการจัดการศึกษา
4. พัฒนากลไกในการประสานส่งเสริมเครือข่ายโรงเรียนในพระราชดำริ
5. ดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ
บริบทของสถานศึกษา
๑. ข้อมูลทั่วไป
๑.๑ ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘ ตั้งอยู่เลขที่ - หมู่ที่ ๑๕ ตำบล ท่าศาลา อำเภอ ท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ ๘๐๑๖๐ โทรศัพท์ ๐๗๕ – ๓๖๙๔๘๖ โทรสาร ๐๗๕ – ๓๖๙๔๘๖ Email rat – 8 @ thaimail. Com. Website
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครศรีธรรมราช เขต ๔
๑.๒ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล ๑ ถึงระดับ มัธยมศึกษาปีที่ ๓
๑.๓ มีเขตพื้นที่บริการ ๔ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๑๔ และหมู่ที่ ๑๕
๒. ข้อมูลด้านการบริหาร
๒.๑ ชื่อ – สกุลผู้บริหาร นายไพโรจน์ โพถาวร
วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท สาขา บริหารการศึกษา
ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา
๔ ปี ๕ เดือน
๒.๒ ผู้ช่วยผู้บริหาร (ที่ได้รับแต่งตั้ง) ๒ คน
ชื่อ นายเรืองศักดิ์ สุพงษ์วิบูลพันธ์ วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท
ชื่อ นายสุธรรม บุญติด วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท
๒.๓ ประวัติโดยย่อ คำขวัญ และวัตถุประสงค์เฉพาะของสถานศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘ (ในพระบรมราชูปถัมภ์) เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑๖
พฤษภาคม ๒๕๘๒ เดิมชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลท่าศาลา ๓ (บ้านหน้าทับ) ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๐๕ได้เกิดวาตภัยขึ้นเป็นเหตุให้อาคารเรียนเสียหายหมด ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน พระองค์ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดสร้างอาคารเรียนแบบ ๐๐๔ หนึ่งหลัง ๒ ชั้น ขนาด ๘ ห้องเรียน เป็นอาคารไม้ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ทางราชการสมัยนั้นได้ เรียนเชิญ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมกันนั้นพระองค์ทรงพระราชทานเปลี่ยนชื่อโรงเรียน ตามโครงการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เป็นโรงเรียนราชประชานุเคราะห์๘ (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีผู้บริหารโรงเรียนจนถึงปัจจุบันรวม ๑๒ คน
คำขวัญประจำโรงเรียน
รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานตามพระราชดำริ
วัตถุประสงค์เฉพาะของสถานศึกษา
๑. ประชากรกลุ่มอายุ ๔ - ๕ ปี ได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างทั่วถึง
๒. ประชากรวัยเรียนได้รับสิทธิ และโอกาสในการได้รับการศึกษาภาคบังคับ
๓. เด็กพิการ / เด็กด้อยโอกาส ได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ ตามศักยภาพ
๔. พัฒนาหลักสูตรเพื่อนำไปสู่กระบวนการการจัดกระบวนการเรียนรู้
๕. จัดการเรียนการสอนตามแนวที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
๖. นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบจบการศึกษาภาคบังคับ
๗. พัฒนาระบบประกันคุณภาพสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๘. ครู ได้รับการพัฒนาและผ่านเกณฑ์การประเมิน มาตรฐานวิชาชีพครู
๙. พัฒนาระบบบริหารให้มีประสิทธิภาพ เตรียมรับการกระจายอำนาจ
๑๐. สถานศึกษาได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาการศึกษา
๑๑. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ และสื่อเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ
๑๒. ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ผ่านทางการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการ
๒.๔ ระบบโครงสร้างการบริหาร
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘ ได้จัดโครงสร้างการบริหารงานเป็น ๔ ฝ่ายงาน ได้แก่ ฝ่ายงานบริหารวิชาการ ฝ่ายงานบริหารงบประมาณ ฝ่ายงานบริหารบุคคลและฝ่ายงานบริหารทั่วไป ได้ยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม หมู่คณะ ความเสียสละ และความตั้งใจในการทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สงผลไปยังนักเรียนและเกิดผลดีต่อทางราชการเป็นสำคัญยิ่ง
๓. ข้อมูลนักเรียน
ปัจจุบันโรงเรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนนักเรียน (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑) ดังนี้
๑) จำนวนนักเรียนในเขตพื้นที่บริการทั้งหมด ๑,๐๙๗ คน
๒) จำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน
๕. สภาพชุมชนโดยรวม
๕.๑ สภาพชุมชน รอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะชุมชนแออัดมีประชากรประมาณ ๓,๐๐๐ คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียนได้แก่ ป้อมตำรวจ ตลาด มัสยิด อาชีพหลักของชุมชน คือ ประมง รับจ้าง ค้าขาย เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ พิธีเข้าสุนัด วันฮารีรายอ
๕.๒ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ประกอบอาชีพประมง (คิดเป็นร้อยละ) ๗๐
นับถือศาสนาอิสลาม (คิดเป็นร้อยละ) ๙๘
ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ย ต่อครอบครัว ต่อปี ๑๕,๐๐๐ บาท
จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว ๘ คน
๕.๓ โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน
โรงเรียนอยู่ติดถนน ๒ ด้าน ทำให้เกิดมลพิษในเรื่องฝุ่นละออง และเสียงจากยานพาหนะตลอดเวลา นักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียน และมักเกิดอุบัติเหตุหน้าโรงเรียนบ่อยครั้ง พื้นที่บริเวณโรงเรียนมีจำกัดไม่เหมาะสมกับจำนวนนักเรียนที่มีจำนวนมาก ยากแก่การจัดแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
โรงเรียนอยู่ใกล้มัสยิดจึงได้รับความช่วยเหลือในการอบรมนักเรียนตามหลักศาสนาอิสลาม และโรงเรียนได้รับความเอื้อเฟื้อด้านสถานที่จากมัสยิดในการนำนักเรียนชายของโรงเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาทุกวันศุกร์
สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘ ไดรับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบแรกเมื่อวันที่ ๑๘ ถึง วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยโรงเรียนได้ปรับปรุงและพัฒนาตามประเด็นที่ สมศ. ได้แสดงผลการประเมินและเสนอแนวทางไว้ โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตลอดปีการศึกษา ๒๕๔๙ - ๒๕๕๐ ภายใต้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมนำขบวนการ PDCAR ๕ ส. พอเพียง ผลการดำเนินงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีเป็นที่น่าพอใจ สถานศึกษาต้องอาศัยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้นและพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อ เทคโนโลยีให้มากขึ้น โดยนักเรียนและบุคลากรมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน มีความเสียสละ ในการศึกษาหาความรู้และปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุตามตัวบ่งชี้ของมาตรฐานขั้นพื้นฐานและมาตรฐานปฐมวัย
ผลสำเร็จที่เป็นจุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนา
ผลสำเร็จที่เป็นจุดเด่น
๑. คณะครูและผู้บริหารสถานศึกษา มีความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และสถานศึกษามีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน
๒. คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน ให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาเป็นอย่างดี
๓. โรงเรียนประสบความสำเร็จในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณธรรม จริยธรรม ตามวิสัยทัศน์ของโรงโรงเรียน และสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจ มีสุนทรียภาพด้านดนตรี ศิลปะ กีฬา และการเคลื่อนไหว
๔. ครูมีเจตคติที่ดี มีกำลังใจ มีความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติงาน มีความรับผิดชอบ มีนิสัยรักเด็ก มีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ พยายามปรับปรุงเทคนิคการสอนที่หลากหลาย
๕. สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่หลากหลาย
สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
๑. การจัดการเรียนการสอนของครู โดยเฉพาะการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
๒. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เขียนสื่อความ
๓. ทักษะการใช้สื่อ เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจการเรียนมากขึ้น
๔. ควรพัฒนาผู้เรียนให้ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองให้มากขึ้น
๕. ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญอย่าจริงจัง ในการให้ความร่วมมือช่วยเหลือดูแลการจัดการศึกษาของบุตรหลาน
แนวทางการพัฒนาในอนาคต
จากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ข้อค้นพบที่ต้องพัฒนาต่อไป คือ
๑. การวางแผนในการจัดกิจกรรม การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความให้มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๒. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนให้มากขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์
จัดทำเอกสารจดหมายข่าว วารสาร แก่ผู้ปกครองและชุมชน
๓. จัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ความต้องการช่วยเหลือในเรื่อง ต่อไปนี้
๑. การจัดสรรงบประมาณในด้านสื่อ เทคโนโลยี ที่ทันสมัยและเพียงพอกับ
นักเรียน
๒. การจัดสรรวัสดุ ครุภัณฑ์ เช่น โต๊ะนักเรียน เก้าอี้นักเรียน
๓. การจัดอัตรากำลังครูให้เพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นของสถานศึกษา
โดยเฉพาะครู เอกคณิตศาสตร์

ผู้ให้ข้อมูล นางสุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น
หน่วยงาน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘
ณ วันที่ ๒๓ เดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๒

0 Response to "การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ"

แสดงความคิดเห็น