ใบงานที่14 แสดงความคิดเห็น


http://gotoknow.org/blog/rinim

1. จุดเด่นจุดด้อยและข้อเสนอแนะในการใช้ (เว็บล็อก)Weblogหรือบล็อก(Blog) Blogspot.com
2. เปรียบเทียบ Blogspot.com กับ Blog Go to Know เป็นข้อ ๆ
3. ให้นักศึกษาทำWebLinK ของ Web GOTOKNOW ของนักเรียนลง บนฺบล็อก Blogspot.com

1. จุดเด่นจุดด้อยและข้อเสนอแนะในการใช้ (เว็บล็อก)Weblogหรือบล็อก(Blog) Blogspot.comมีดังนี้
จุดเด่นของ Blog คือผู้อ่านจะสามารถแสดงความคิดเห็นต่อบทความหรือเนื้อหาใน blog ที่ตนเข้าไปอ่านได้แล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงไปยัง (link) blog ของคนอื่นๆรวมถึงเวบไซต์ต่างๆ ได้ และที่สำคัญ ในปัจจุบัน นวัตกรรมใหม่ๆใน blog ยังสามารถช่วยให้ blogger เสาะหา blogger คนอื่น ที่มีความชอบหรือความสนใจในเรื่องเดี่ยวกับตนได้ง่ายดายอีกด้วยโดยผ่านสิ่งที่เรียกว่า “weblog search engines” และด้วยเหตุนี้เอง ชุมชนของเหล่า blogger จึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ข้อด้อยของ Blog คือทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน เนื้อหาใน Blog จึงเป็นการเขียนเพื่อนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้อื่น แม้ว่าจะมีจรรยาบรรณในการนำเสนอสารสนเทศบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตว่า ผู้ใช้ Blog จะต้องนำเสนอแต่ความจริง และห้ามนำเสนอความเท็จก็ตาม
ข้อความต่างๆ ใน Blog แม้ผู้เขียนจะตระหนักว่า Blog เป็นพื้นที่ส่วนตัว (private) แต่ในขณะเดียวกัน Blog ก็มีความเป็นพื้นที่สาธารณะ (public sphere) เช่นเดียวกัน ผู้เขียนอาจเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นเพื่อโน้มน้าวความเชื่อ การปลุกระดม การใส่ร้ายป้ายสี แสดงความก้าวร้าว ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน เสียหายได้ ที่ใช้ภาษาไม่สุภาพทำให้ผู้อ่านเกิดความเชื่อคล้อยตามในทางที่ผิดๆ ได้
ข้อเสนอแนะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานการเรียนการสอนนั้น Blog เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนึ่งที่ผู้สอนสามารถนำมาใช้เป็นช่องทางหรือแหล่งเรียนรู้ได้ โดย blog จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนได้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับแต่ง blog ของผู้สอนแต่ละคนว่าจะทำให้มีความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ blog ยังให้โอกาสผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่มีเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้เท่านั้น ผู้เรียนก็จะสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ตลอด อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเปิดโลกทัศน์ของผู้เรียนผ่านการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งสืบค้นอีกด้วย
2. การเปรียบความแตกต่างระหว่าง Blogspot และ Gotoknow Blogspot Gotoknow
1. พื้นหลังหรือ background สามารถเลือกได้หลายรูปแบบ 1. ไม่มีพื้นหลังหรือ Background ให้เลือก
2. ประวัติ Blog ไม่เห็นชัดเจน 2. ประวัติ Blogชัดเจน ชัดเจน
3. ชื่อ Web จำง่ายและสั้น 3. ชื่อ Web จำยากและยาว
4. ใส่รูปภาพและลิงค์ถึงกันได้ 4. ใส่รูปภาพและลิงค์ถึงกันได้
5. การเข้า Web จะง่ายกว่า 5. การเข้า Web จะยากกว่า
6. การแสดงข้อความจะแสดงทั้งหมด 6. การแสดงข้อความแสดงไม่หมดต้องเปิดดูหน้าต่อ
7. จะไม่ปิดกั้นผู้อื่นเข้าชมและสามารถวิจารณ์ผลงานได้ 7. จะปิดกั้นผู้อื่นเข้าชมได้ และสามารถวิจารณ์ผลงานได้
8. เข้าไปแก้ไขและเพิ่มบทความได้ยาก 8. เข้าไปแก้ไขและเพิ่มบทความได้ง่ายกว่า
9.เป็นเวปบล็อกที่ให้พื้นที่ในการทำงาน เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ฟรี
10.เป็นแหล่งข้อมูลด้านต่างๆ ที่ทันสมัยก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
11.เป็นสื่อ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาความก้าวหน้ามาก
12.เหมาะในการใส่มัลติมีเดีย


การพัฒนางานแนะแนวในสถานศึกษา

การพัฒนางานแนะแนวในสถานศึกษา
สมาชิกในกลุ่ม
1. นายประยูร รักษ์กำเนิด 024
2. นายจารุวัฒน์ เสนลิ้น 012
3. นายสุภาส มณีโชติ 046
4. นางสุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น 061
5. นางสิริวรรณ มณีโชติ 062
6. นางนันทนา เสนลิ้น 064
การพัฒนางานแนะแนวในสถานศึกษา แนวคิดเหล็กในการแนะแนว
การแนะแนวช่วยให้บุคคลรู้จักตัวเอง รู้จักโลกรอบตัว ด้วยกลวิธีและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้สามารถตัดสินใจด้วยตนเองอย่างเหมาะสมและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ความหมายของกิจกรรมแนะแนว
การแนะแนวหมายถึง กระบวนการหนึ่งซึ่งจะช่วยให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง รู้จักสภาพแวดล้อม สามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆได้
ปรัชญาของการแนะแนว การแนะแนวยึดหลักปรัชญาต่อไปนี้
1. บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งทางร่างกาย สังคม อารมณ์ สติปัญญา ความสนใจ ความสามารถ ความถนัดและเจตคติ
2. บุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีศักยภาพแฝงอยู่ในตน ควรพัฒนาให้เจริญขึ้นทุกด้าน
3. บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปด้วยดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัย
และสาเหตุการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
4. พฤติกรรมทุกอย่างของบุคคลย่อมมีสาเหตุ การที่บุคคลแสดงออกอย่างใดหรือเป็นเช่นไร
ย่อมเกิดจากตนเองและสิ่งแวดล้อมเป็นเหตุ
5. บุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีและต้องการการยอมรับซึ่งกันและกัน
6. ธรรมชาติของคนอยู่รวมกันเป็นสังคม จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
โดยสรุปการแนะแนวหมายถึงการแนะแนวเป็นกระบวนการส่งเสริมและช่วยเหลือให้นักเรียนได้รู้จักตนเองเข้าใจสิ่งแวดล้อมสามารถเลือกตัดสินใจแก้ปัญหาและ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนได้โดยสมบูรณ์และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
หลักการของการแนะแนว
1. การแนะแนวควรจัดขึ้นเพื่อนักเรียนทุกคน
2. การแนะแนวควรจะเป็นการช่วยให้นักเรียนสามรถนำตนเองได้
3. การแนะแนวจะต้องมีข้อมูลของนักเรียนในด้านต่างๆตรงตามข้อเท็จจริงและเป็นปัจจุบัน
4. การแนะแนวจะต้องจัดอย่างต่อเนื่อง
5. การจัดการแนะแนวจะต้องมีการประสานงาน และร่วมมือในระหว่างบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียน
6. การแนะแนวจะต้องทำควบคู่กันไปกับการจัดการเรียนการสอน
7. การแนะแนวควรจัดบริการต่างๆให้ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคม
เป้าหมายของการแนะนว
การแนะแนวมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ตัวเด็ก โดยเน้นที่
1. การป้องกันปัญหา
2. การแก้ปัญหา
3. การส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน
เหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว
1. เด็กต้องเผชิญสิ่งแวดล้อมใหม่ในโรงเรียน ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ
2. เด็กกำลังพัฒนาในทุกด้าน ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน
3. สภาพสังคมและเศรษฐกิจทำให้นักเรียนและผู้ปกครองห่างเหินกัน
4. สภาพแวดล้อมทางสังคมทำให้นักเรียนเกิดความสับสน
5. นักเรียนต้องดิ้นรนเพื่อการเรียนและการเตรียมตัวในอาชีพมากขึ้น
การพัฒนากิจกรรมแนะแนวตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
การพัฒนากิจกรรมแนะแนวตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดไว้ ดังนี้
มาตรา 22 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
มาตรา 24 ระบุว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหา
3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น
รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
4. จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
จุดมุ่งหมายของการแนะแนว
การแนะแนวมีความสำคัญมากจึงมีขอบข่ายที่กว้างขวางโดยเฉพาะในสถาบันการศึกษาทุกระดับดังนั้นความมุ่งหมายในการจัดบริการแนะแนวจึงควรเน้นทั้งด้านการป้องกันปัญหาการแก้ปัญหา และการส่งเสริมพัฒนาการแก่บุคคล ดังที่ ทองเรียน อมรัชกุล และคนอื่น ๆ (2528 : 54-55), พรหมธิดา แสนคําเครือ (2528 : 10)และ พนม ลิ้มอารีย์(2533 : 6) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการแนะแนว มีใจความสรุปได้ดังนี้
• เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเองในทุกด้านรู้จักพัฒนาตนเองนำความรู้ความสามารถหรือศักยภาพมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหา อันจะทำให้เกิดความเจริญงอกงามในทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
• เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รู้จักปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาเพื่อจะได้รู้จักวิธีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในสังคมได้อย่างมีความสุข
• เพื่อช่วยให้ครูได้เข้าใจนักเรียนแต่ละคนซึ่งเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ
• เพื่อช่วยให้ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ได้เข้าใจในตัวเด็กทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์ สังคม สติปัญญา ความสามารถและปัญหาต่าง ๆ เพื่อหาทางส่งเสริมช่วยเหลือเด็กให้พ้นภัยจากปัญหาต่าง ๆ
กล่าวโดยสรุป จุดมุ่งหมายสูงสุด คือ การทําให้บุคคลพัฒนาตัวเองอย่างดีที่สุดทั้งทางด้านร่างกายสติ ปัญญา อารมณ์ สังคมและจิตใจ และช่วยให้บุคคลช่วยเหลือตนเองได้ในทุกเรื่อง เรียนรู้ที่จะดํารงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข
ประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการแนะแนว
ประโยชน์แก่ผู้ปกครองหรือบิดามารดา
- ได้รับรู้และเข้าใจสถานภาพทางการเรียนของบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสปรึกษาหารือกับครูแนะแนว
- ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสที่บุตรหลานของท่านจะได้เรียนต่อหรือออกไปประกอบอาชีพ
- รับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กวัยรุ่นเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับปรุงพฤติกรรมของบุตรหลานของท่านต่อไป
ประโยชน์ต่อนักเรียน
- ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดีขึ้นและสามารถปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน สังคมอารมณ์และสติปัญญา
- ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล
- ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาเพื่อสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมายและอยู่ใสังคมอย่างมีความสุข
ประโยชน์แก่ครู
- ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น
- ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
- ช่วยครูในการศึกษานักเรียนทำให้รู้จักนักเรียนดีขึ้น
ประโยชน์แก่โรงเรียน
- ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
- ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหานักเรียนเรียนไม่จบหลักสูตร หรือปัญหานักเรียนเรียนอ่อน หรือหนีเรียน เป็นต้น
บริการหลักที่งานแนะแนวจัดให้นักเรียน
กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดขอบข่ายการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา มี 5 บริการ คือ 1. บริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล 2. บริการให้คำปรึกษา 3. บริการสนเทศ 4. บริการจัดวางตัวบุคคล 5. บริการติดตามผลและประเมินผล (พรหมธิดา แสนคําเครือ,2528 : 12-15; กรมวิชาการ,2532 : 4-5และพนม ลิ้มอารีย์ ,2533 : 235-237) โดยมีรายละเอียดพอสังเขป คือ
1. บริการรวบรวมข้อมูลและศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล หมายถึง การศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนด้านการศึกษา อาชีพ บุคลิกภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และจัดระบบแล้ว จะทำให้ครูรู้จักนักเรียน และสามารถให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมและพัฒนาได้อย่างถูกต้อง ทั้งสามารถช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจตนเองและยอมรับตนเองอีกด้วย เป็นบริการที่จำเป็นพื้นฐานในการที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้อง เพราะจะทำให้ได้ทราบปัญหา หรือ ข้อบกพร่องในตัวนักเรียน เพื่อดำเนินการแก้ไขได้ถูกต้องและนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาเป็นองค์ประกอบในการจัดบริการอื่น ๆ ต่อไป งานบริการด้านนี้ได้แก่
- บันทึกประวัตินักเรียนทุกคนไว้ในระเบียนสะสมบริการข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ทดสอบความถนัด ความสนใจของนักเรียน
- สำรวจพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียน
2. บริการให้คำปรึกษา หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ ความใกล้ชิด ความอบอุ่น ความมั่นใจ อันจะช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจและเลือกได้อย่างฉลาด ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพปัญหาความต้องการ เป็นบริการที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของงานแนะแนว โดยเฉพาะการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่ และในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบัน งานบริการในด้านนี้ คือ
- ให้คำปรึกษานักเรียนที่มีปัญหาด้านส่วนตัว การเรียน และอาชีพ
- ศึกษาและหาทางช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- เสนอแนะแนวทางปฏิบัติตน เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ
บริการให้คำปรึกษาจะช่วยผ่อนคลายความเครียดในจิตใจของนักเรียนและ ผู้ปกครองโดย อาจารย์แนะแนวมีจรรยาบรรณที่จะ "รักษาความลับของนักเรียน" ฉะนั้นการเข้าไปคุยกับครูแนะแนวจึงเป็นเรื่องที่เด็กฉลาดควรทำ ไม่ควรคิดผิด ๆ ว่า"เฉพาะเด็กที่มีปัญหาเท่านั้นที่จะเข้าห้องแนะแนว" อาจารย์แนะแนวพร้อมที่จะเป็นคู่คิด เป็นที่ปรึกษาทั้งการเลือกวิชาเรียนการศึกษาต่อ การหางานทำ หรือปัญหาส่วนตัว งานแนะแนวยินดีช่วยนักเรียนเสมอ
3. บริการสนเทศ หมายถึง การให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนา เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต่อเนื่องจากบริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล อันจะช่วยให้นักเรียนได้รับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ที่ตรงกับความต้องการในการส่งเสริม พัฒนา ตลอดจนแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม เป็นบริการให้ความรู้แก่นักเรียนในหลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ รู้จักตัดสินใจ และวางแผนอนาคตอย่างฉลาด ได้แก่
- การจัดสอนให้ความรู้ต่าง ๆ ในคาบกิจกรรมแนะแนว
- การจัดป้ายนิเทศ
- การจัดทำเอกสารที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียน
- การจัดอภิปราย บรรยาย ให้ความรู้ในด้านการศึกษาอาชีพ และการปรับตัวในสังคม
- การจัดวันอาชีพ
- การจัดสัปดาห์แนะแนวทางศึกษาต่อ
- การจัดฉายภาพยนต์ วีดีโอ สไลด์ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
- จัดปฐมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศ
4. บริการจัดวางตัวบุคคล หมายถึง การให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือฝึกฝนทักษะในเรื่องที่ตนสนใจ การจัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนกิจกรรมให้ นักเรียนได้รับประสบการณ์ดังกล่าวนั้น โดยจัดให้สอดคล้อง ต่อเนื่องกับกระบวนการเรียนการสอน ทั้งสอดคล้องกับผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล ความสนใจ ความต้องการ
5. บริการติดตามประเมินผล หมายถึง การปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องจากบริการต่าง ๆ ที่กำหนด เพื่อติดตาม ดูแลว่านักเรียนมีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง แก้ไข พัฒนา ตลอดจนติดตามการจัดกิจการต่าง ๆ ว่าสัมฤทธิ์ผลเพียงใด มีสิ่งใดต้องปรับปรุงให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น (http://www.skn.ac.th/skl/skl701.htm)
ในการจัดบริการแนะแนวจะประกอบด้วยการบริการหลักทั้ง 5 บริการ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนต่อเนื่อง นักแนะแนวได้กำหนดโครงสร้างและความสัมพันธ์ของงานบริการแนะแนวสอดคล้องกัน ดังนี้
(พรหมธิดา แสนคําเครือ,2528 : 12-15; กรมวิชาการ,2532 : 4-5และพนม ลิ้มอารีย์ (2533 : 235-237)
• บริการสนเทศ
• บริการสำรวจและศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล
• การให้คำปรึกษา
• บริการติดตามผล
• การจัดวางตัวบุคคล
สรุปการบริการทั้ง 5 ได้ดังนี้
บริการ จุดมุ่งหมาย วิธีการ
1.บริการสำรวจและศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อรู้จักเด็กทุก ๆ ด้าน สังเกต ระเบียนพฤติกรรม มาตราส่วน
ประมาณค่า การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การทดสอบ การทำสังคมมิติ การเยี่ยมบ้าน การศึกษาเด็กเป็นรายกรณี อัตชีวประวัติ ระเบียนสะสม
2. การบริการสนเทศ เพื่อให้ข่าวสารความรู้ที่จำเป็น แก่นักเรียนเกี่ยวกับการศึกษา อาชีพ สังคม วัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อภิปราย บรรยาย หรือการจัดกิจกรรมใน รูปแบบของนิทรรสการการศึกษานอก สถานที่ การสาธิต การจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์
3. บริการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยให้บุคคลหรือนักเรียน มองเห็นช่องทางในการ ตัดสินใจและสามารถแก้ปัญหา ด้วยตนเองด้วยวิธีที่ฉลาดและ เหมาะสม ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลและให้ คำปรึกษาเป็นกลุ่ม
4. บริการจัดวางตัวบุคคล เพื่อช่วยให้บุคคลหรือนักเรียน ได้มีโอกาสแสดงตาม พฤติกรรมหรือได้ ประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ ถูกต้องเหมาะสม การจัดเด็กเข้าโครงการเรียนและชุมชน ต่าง ๆ การจดทุนการศึกษา การจัดสอนซ่อมเสริม การจัดโครงการอาหารกลางวัน จัดบริการฝึกงาน และทำงาน ฯลฯ
5. บริการติดตามผล เพื่อติดตามผลงานในด้านต่าง ๆ ของบริการแนะแนวและติดตามผลพฤติกรรมของบุคคลหรือเด็ก ว่าควรได้รับการแนะแนวเพิ่มเติมหรือไม่เพียงใด การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้ แบบสอบถาม
บทบาทหน้าที่ของครูในการจัดกิจกรรมแนะแนว
ครูอาจารย์นับเป็นผู้ที่มีบทบาทมากที่สุด ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของเยาวชนในโรงเรียน ซึ่งเป็นความหวังอันสำคัญว่าจะช่วยนำเยาวชนไปสู่ทิศทางที่เหมาะสม และในการใช้กระบวนการแนะแนวหรือการจัดบริการแนะแนว ในการป้องกันและแก้ปัญหาในโรงเรียน ครูจึงเป็นผู้ที่มีหน้าที่โดยตรง เพราะครูมีบทบาทหน้าที่ในการศึกษา ปัญหา และพฤติกรรมนักเรียน รวมทั้งการจัดบริการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบและอย่างมีหลักวิชาฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า บทบาทของครูมีความจำเป็น และมีความสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมแนะแนว มีนักวิชาการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้สรุปหน้าที่ของครูไว้ดังนี้
วัชรี ทรัพย์มี (2523 : 107-109) ได้สรุปรุปบทบาทของครูแนะแนวในโรงเรียนไว้ดังนี้คือ จัดบริการแนะแนวให้แก่นักเรียน ประสานงานกับผู้บริหาร ครู บุคลากร อื่น ๆ ในโรงเรียน ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชนและสถาบันอื่น ๆ ประเมินผลงานแนะแนวและการวิจัยตลอดจนการ เผยแพร่กิจกรรมการแนะแนว
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ(2532 : 9-10) ได้กล่าวว่า ในการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของครูแนะแนวที่คุรุสภากำหนดในฐานะครูสายสนับสนุนการสอน (บริการ) ในตําแหน่งครูแนะแนวไว้ดังต่อไปนี้
• จัดระบบการทําระเบียนสะสม และระเบียนพฤติกรรมของนักเรียนทุกคนที่ รับผิดชอบ
• ตรวจสอบบุคลิกภาพของนักเรียน และแนวทางแก้ไขบุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์ ตามหลักการแนะแนว สอนและอบรมตามที่ได้รับมอบหมาย
• รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม แบบทดสอบ เพื่อใช้ประกอบการให้คำแนะนำแก้ไขปัญหา แก่ครูผู้ปรึกษา
• แนะแนวเรื่องส่วนตัว การเลือกวิชาเรียน การเลือกวิชาชีพ และการศึกษาต่อ
• แนะแนวปฏิบัติต่อครูที่ปรึกษาในการดูแลสุขภาพอนามัย การแก้ปัญหาส่วนตัวและการเรียน
• ร่วมมือกับบรรณารักษ์จัดเอกสารประเภทแนะแนว การจัดนิทรรศการแนะแนวเพื่อให้นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับระเบียบของสังคม
• ติดต่อกับผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในบ้านและติดตามนักเรียนที่ออกจากโรงเรียน
• ทํารายงานผลการเรียนและความประพฤติของนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบ
สรุปได้ว่าครูแนะแนวในโรงเรียนมีหน้าที่จัดบริการต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการแนะแนว ทั้งนี้เพื่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนานักเรียนเป็นสำคัญเพื่อให้นักเรียนมีสติปัญญาความรู้ความสามารถ ในการพัฒนา ตนเอง และสังคม ให้เจริญขึ้น ครูแนะแนวมีหน้าที่ในการศึกษาปัญหา และพฤติกรรมนักเรียน โดยใช้กระบวนการแนะแนว เพราะพฤติกรรมดังกล่าว เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานักเรียน ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวม และการป้องกันแก้ไขปัญหานักเรียนจะต้องทำงานร่วมกันของบุคลากรในโรงเรียน โดยเฉพาะครอบครัวของนักเรียนและชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ เพื่อให้ครอบครัวและ ชุมชนได้มีบทบาทร่วมกับโรงเรียนในการพัฒนานักเรียน ซึ่งงานดังกล่าวจัดว่าเป็น ภารกิจของครูเช่นกัน บทบาทของบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ที่มีต่องานบริการแนะแนวในโรงเรียน การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน ซึ่งมีนักแนะแนวได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (2529 : 38-41) กล่าวถึง บทบาทของบุคลากรต่าง ๆ ไว้ว่า
• บทบาทของผู้อํานวยการจะต้องให้ความสนใจกระบวนการแนะแนวในทุก ๆ ด้านให้การสนับสนุนงานแนะแนว จัดตั้งคณะกรรมการแนะแนวรับผิดชอบในการวางโครงการปฏิบัติงานและปรับปรุงงานจัดหาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ สถานที่ให้ความรู้ประสบการณ์แก่ครูแนะแนว ให้สอดคล้องกับงานด้านอื่น ๆ ของโรงเรียน
• บทบาทของครูในฐานะของผู้แนะแนว ครูประจำชั้นควรจะเข้าใจปรัชญาวัตถุประสงค์ของการแนะแนว เข้าใจพฤติกรรมของเด็กและบุคคลอื่น ๆ ยอมรับในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนที่มีต่อบริการแนะแนว จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนเข้าใจคุณประโยชน์ของบริการแนะแนวปรึกษาหารือกับครูผู้ปกครอง นักเรียนเพื่อพัฒนางานแนะแนว
• บทบาทครูแนะแนวหรือผู้ให้คำปรึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่องานแนะแนวและให้คำปรึกษาได้แก่การวางแผนให้การสนับสนุนโปรแกรมการแนะแนวจัดดำเนินการอบรมด้านการแนะแนวแก่บุคลากรในโรงเรียน
พนม ลิ้มอารีย์ (2533 : 255-163) ได้กล่าวถึงบทบาทของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการแนะแนวไว้ดังนี้
• บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำริเริ่มงานกำหนดนโยบายงานแนะแนวในโรงเรียน แต่งตั้งคณะกรรมการแนะแนว ให้การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ สถานที่ ประชาสัมพันธ์ประเมินผลและปรับปรุงบริการแนะแนวอย่างต่อเนื่อง
• บทบาทของครูประจำชั้น ศึกษาทําความเข้าใจวัตถุประสงค์ขอบข่ายของโครงการแนะแนว ให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน ประสานงานประชาสัมพันธ์งานแนะแนว จัดส่งนักเรียนที่สมควรได้รับคำปรึกษา เป็นสื่อกลางระหว่างบ้านและโรงเรียน
• บทบาทของครูแนะแนว เป็นผู้นำในการดำเนินงานบริการแนะแนวในโรงเรียนประสานงานร่วมกับผู้บริหารโรงเรียนในการจัดโครงการบริการแนะแนว ประชาสัมพันธ์สนับสนุนให้บุคลากรในโรงเรียนและนอกโรงเรียนสนใจงานแนะแนวติดต่อขอความร่วมมือจากหน่วยงาน บุคลากรนอกโรงเรียนทำหน้าที่วิจัยและประเมินผลงานแนะแนว
• บทบาทของผู้ปกครอง ให้ความร่วมมือให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเด็กให้การสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนของเด็กสนับสนุนเด็กในปกครองให้รับบริการแนะแนวอยู่เสมอ
สรุปได้ว่า บุคคลที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูแนะแนว ครูผู้สอน และผู้ปกครอง บุคคลต่าง ๆ นี้จะมีหน้าที่เฉพาะแตกต่างกันแต่ละคน ดังนั้นถ้าบุคคลหรือทุกฝ่ายให้ความร่วมมือปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องจริงจัง บริการแนะแนวก็จะมีประโยชน์ต่อตัวนักเรียนมากที่สุด
ลักษณะของการพัฒนากิจกรรมแนะแนว โรงเรียนสามารถพัฒนากิจกรรมแนะแนวได้ 5 ลักษณะ ดังนี้
1. ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริม ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้เรียนโดยไม่ทำให้จุดประสงค์ เนื้อหา คาบเวลาเรียนเปลี่ยนไป
2. ปรับรายละเอียดของเนื้อหา ด้วยการเพิ่ม ลดหรือปรับรายละเอียดของเนื้อหา โดยไม่ทำให้จุดประสงค์และคาบเวลาเรียนเปลี่ยนแปลงไปจากหลักสูตรแม่บท
3. พัฒนาสื่อการเรียนการสอน โดยการเพิ่มเติม ตัดทอนสื่อต่างๆ ที่มีอยู่ เพื่อให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพผู้เรียน สอดคล้องกับจุดประสงค์และ เนื้อหาที่หลักสูตรกำหนด
4. จัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่ โดยจัดทำหนังสือเรียน คู่มือครู หนังสือเสริมประสบการณ์ แบบฝึกหัดและเอกสารประกอบการเรียนการสอนให้ สอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหา และสภาพของผู้เรียน
5. จัดทำคำอธิบายรายวิชาขึ้นใหม่ เป็นการพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมแนะแนว) ด้วยการจัดทำคำอธิบาย หรือทำรายวิชาเพิ่มเติมจากที่ปรากฏในหลักสูตร กระบวนการพัฒนากิจกรรมแนะแนว กระบวนการหรือขั้นตอนสำคัญในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว มีดังนี้
ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
1.1 การศึกษาแนวโน้มการพัฒนา
1.2 การสำรวจความต้องการของผู้เรียน
1.3 การศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรแกนกลาง
1.4 การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
ขั้นที่ 2 การกำหนดแนวทางการพัฒนากิจกรรมแนะแนว
ขั้นที่ 3 การจัดทำสาระของกิจกรรมแนะแนว
3.1 ชื่อกิจกรรม
3.2 หลักการและเหตุผลในการจัดทำกิจกรรม
3.3 หลักการ
3.4 จุดประสงค์
3.5 โครงสร้างและขอบเขตของเนื้อหา
3.6 การจัดกระบวนการเรียนรู้
3.7 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3.8 การวัดผลประเมินผล
3.9 เกณฑ์การวัดผลประเมินผล
ขั้นที่ 4 การจัดทำแผนการสอน
ขั้นที่ 5 การตรวจสอบคุณภาพของกิจกรรม
ขั้นที่ 6 การนำหลักสูตรท้องถิ่นไปใช้
ขั้นที่ 7 การประเมินผล ปรับปรุงแก้ไข
การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน การพัฒนากิจกรรมแนะแนว ควรศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
1.1 ศึกษาแนวโน้มการพัฒนา
1.2 สำรวจความต้องการของผู้เรียน
1.3 ศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรแกนกลาง
1.4 วิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
การศึกษาแนวโน้มการพัฒนา
การศึกษาแนวโน้มของการพัฒนา เป็นการศึกษาสภาพของสังคมที่ ท้องถิ่นนั้นตั้งอยู่ว่า มีแนวโน้มของการพัฒนาไปในทิศทางใด ผลที่ได้จากการศึกษาแนวโน้มของการพัฒนาจะช่วยให้ท้องถิ่นมองเห็นลู่ทางหรือแนวทางของการที่จะ ลงมือพัฒนาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงนั้น ในขณะเดียวกันผลจากการศึกษาทำให้ท้องถิ่นได้ทราบข้อจำกัดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนหรือสังคม อันอาจเป็นอุปสรรคของการพัฒนา และทราบโอกาสที่จะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาความต้องการของท้องถิ่น เป็นการศึกษาหรือสำรวจความต้องการของผู้รับบริการในชุมชนที่ท้องถิ่นตั้งอยู่ ซึ่งได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง พ่อค้า ข้าราชการ ประชาชน ฯลฯ ว่ามีความต้องการในเรื่องใด อย่างไร และมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา ผลที่ได้จากการศึกษาตามขั้นตอนนี้ นำมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินงานพัฒนากิจกรรมแนะแนวให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น การศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการแปลงจุดมุ่งหมายและนโยบายทางการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา หลักสูตรจะเป็นเครื่องชี้นำทางในการจัดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียน หลักสูตรจึงเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา และเป็นเครื่องชี้วัดถึงความเจริญของชาติ ถ้าพิจารณาแล้วจะพบว่า แผนการศึกษาชาติ นโยบายการศึกษา และหลักสูตร มีความสัมพันธ์กันเรียงตามลำดับ ถ้าท้องถิ่นหรือโรงเรียนดำเนินการจัดการศึกษาตามจุดหมายของหลักสูตรได้ครบ แสดงว่าได้ตอบสนองนโยบายการศึกษาและความมุ่งหมายในแผนการศึกษาแห่งชาติได้ครบถ้วน
ผลที่ได้จากการศึกษาหลักสูตรแกนกลางสามารถนำมากำหนดเป็น แนวดำเนินการในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นได้ว่าจะพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นใน กลุ่มประสบการณ์/รายวิชาใด เรื่องใดได้บ้าง และควรมุ่งเน้นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในเรื่องใดบ้าง
ขั้นตอนการวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
การศึกษาศักยภาพของโรงเรียน เป็นการศึกษาสภาพของโรงเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านบริหาร วิชาการ บุคลากร ทรัพยากร วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ ว่ามีความพร้อมหรือไม่พร้อมในด้านใดมากน้อยเพียงใด ผลจากการศึกษาตามขั้นตอนนี้จะทำให้ท้องถิ่นทราบถึงความพร้อม ไม่พร้อม จุดเด่น จุดด้อยหรือจุดพัฒนาของโรงเรียน
จุดเด่นจุดด้อยของการสรุปศักยภาพของโรงเรียนสามารถนำไปใช้ใน การพิจารณาตัดสินใจพัฒนากิจกรรมแนะแนว ถ้าเน้นจุดเด่นอาจพิจารณาพัฒนาเสริมให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยมีจุดเด่นนั้นเป็นสิ่งสนับสนุน ถ้าเน้นจุดด้อยอาจจะพิจารณาพัฒนาเพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้ตรงกับความเหมาะสมและความต้องการ
การกำหนดแนวทางการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมแนะแนว)
เมื่อมีการวางแผน โดยการศึกษาแนวโน้มในการพัฒนา ความต้องการของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลาง และศักยภาพของโรงเรียนแล้ว ต้องนำผลที่ได้ทั้งหมดมากำหนดเป็นเป้าหมายของการพัฒนาในอนาคต ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับเงื่อนไขหรือสภาพที่ควรจะเป็น และมีโอกาสที่จะพัฒนาได้สำเร็จ จากนั้นจึงวิเคราะห์หาแนวปฏิบัติอันนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ควรพิจารณาตัดสินใจเลือกแนวปฏิบัติที่ท้าท้ายและเหมาะสมสอดคล้องกับเงื่อนไขหรือศักยภาพและแนววิธีการจัดการศึกษา นำแนวปฏิบัติที่ตัดสินใจเลือกมากำหนดเป็นเรื่องที่จะพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมแนะแนว) นำแนวปฏิบัติของแต่ละองค์ประกอบมาพิจารณาร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนา กล่าวโดยสรุป บุคลากรทุกคน ทุฝ่ายในโรงเรียน รวมถึงผู้ปกครองและชุมชน เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน ดังนั้นถ้า ทุกคนหรือทุกฝ่าย ให้ความร่วมมือปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องจริงจัง งานแนะแนวก็จะมีประโยชน์ต่อตัวนักเรียนมากที่

ใบงานที่ 13 ศึกษาดูงานนครศรีธรรมราช - เวียงจันทร์ 17-22 ม.ค.2553

1.นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ไทยลาวก็พี่น้องกัน บ้านพี่เมืองน้อง ถ้าตามประวัติศาสตร์ไทยลาวคือประเทศเดียวกัน เราต้องถูกแบ่งแยกดินแดน ในครั้งที่ 10 ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 3 ตุลาคม 2436 พื้นที่ 143,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร ต้องเสียให้กับฝรั่งเศสตามสัญญาไทยกับฝรั่งเศส เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสเรียกเงินจากไทย 1 ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย เสียค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก 3 ล้านบาท และยังไม่พอฝรั่งเศสได้ส่งทหารมายึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง 15 ปี นับว่าเป็นความเจ็บปวดที่สุดของไทยถึงขนาดที่เจ้านายฝ่ายในต้องขายเครื่อง แต่งกายเพื่อนำเงินมาถวาย ร.5 เป็นค่าปรับ ร.5 ต้องนำถุงแดง(เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้ แต่ถึงอย่างไร สิ้นค้าต่างๆที่อยู่ในประเทศลาว ก็เป็นสินค้าที่นำเข้าไปจากไทย มีความรู้สึกว่าอยู่ในลาวก็เหมือนอยู่ในประเทศไทยสภาพบ้านเรือนใกล้เคียงกับสภาพต่างจังหวัดของประเทศไทย สำเนียงภาษาแตกต่างกันแต่ก็สามารถสื่อสารกับเราได้ เพราะจากการพูดคุยเค้าจะดูละครของไทย ฟังเพลงไทย พูดไทยชัด สินค้าที่จำหน่ายส่วนใหญ่เป็นสินค้าเลียนแบบ คุณภาพเหมาะสมราคา
2.โรงเรียนอนุบาลหนองคาย
โรงเรียนอนุบาลหนองคายเป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโรงเรียนที่มาเยี่ยมเยียน ชื่นชมการบริหารงานของ ผอ.สัมฤทธิ์ เจริญดี คณะครูให้การต้อนรับเป็นกันเอง ยิ้มแย้ม แจ่มใส อบอุ่นมากครับทั้งที่อากาศวันนั้นหนาว เป็นโรงเรียนทีมีบริเวณกว้างขวาง ประสบการณ์ที่ได้รับจากการบรรยายของผู้อำนวยการ ทำให้เห็นการทำงานเป็นทีมร่วมคิดร่วมทำร่วมนำร่วมประสาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังจะเห็นได้จากมีครูได้รับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวนมาก และผู้บริหารให้ความเป็นกันเองกับผู้ร่วมงาน สิ่งสำคัญคือ ผู้บริหารมีความรับผิดชอบในการบริหารงาน ทั้งต่อตนเองและผู้ร่วมงาน เป็นโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในหลายๆด้าน เช่น โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา
โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551โรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนส่งเสริมสุภาพ และ โรงเรียนดีศรีหนองคาย เป็นต้น
3.หมู่บ้านงูจงอาง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ประทับใจอีกแห่ง ปกติเป็นคนกลัวงู เห็นงูจงอางตัวใหญ่ ประทับใจกับการแสดงคนกับงู เป็นหมู่บ้านที่มีการบริหารจัดการของคนในหมู่บ้านร่วมกันทำให้เกิดรายได้เข้าสู่หมู่บ้าน เป็นที่รู้จักกันทั้งในไทยและต่างประเทศ
4.ผ้าทอ อ.ชนบท จ.ขอนแก่น
เมืองชล ของคนขอนแก่น หมายถึง อ. ชลบถ ซึ่งหมายถึงถิ่นที่มีน้ำมากหรือมีน้ำผ่าน อันเป็นชื่อเดิมของ อ. ชนบทในปัจจุบันอ. ชนบทนับเป็นศูนย์รวมผ้าไหมของประเทศไทย โดยเฉพาะผ้าไหมมัดหมี่ซึ่งมีชื่อเสียงมาก ย่านตลาดของตัวอำเภอมี ถนนสายไหม ที่มีร้านจำหน่ายผ้าไหมเรียงรายกันมากกว่า 60 ร้าน ผ้าไหมของ อ. ชนบทถูกส่งไปขายทั่วประเทศ มีตลาดรองรับที่แน่นอน สร้างรายได้จำนวนมากให้ชาวชนบทผู้คนที่นี่ทุกเพศทุกวัยทอผ้าเป็นจนมีคำกล่าวว่า หญิงทอผ้าได้ ชายทอดี ลูกเล็กเด็กแดงก็ทอเป็นกันหมดŽ ฝีมือช่างทอผู้ชายนั้นได้รับรางวัลจากการประกวดผ้าไหมทั้งระดับชาติและนานาชาติมาแล้วมากมาย
สิ่งน่าสนใจ เมืองผ้าไหม แถบทุกครัวเรือนใน อ. ชนบท ผู้คนทั้งหญิงชายเด็กผู้ใหญ่นั่งทอผ้าบริเวณใต้ถุนบ้านกันเป็นล่ำเป็นสัน โดย เฉพาะช่วงว่างเว้นจากการทำนา ทุกบ้านมีเครื่องมือการทอผ้าการสาวไหมครบถ้วน นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมหรือพูดคุย แม้จะไม่ซื้อก็ขอชมงานผ้าทอของพวกเขาได้ย่านตลาดในตัวอำเภอ มีถนนสายไหม เป็นถนนซึ่งทางอำเภอกำหนดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่บริเวณสี่แยกหน้าที่ว่าการอำเภอยาวไปตลอดบน ถ. ศรีบุญเรือง ถึงสี่แยก ถ. บึงแก้ว เลี้ยวซ้ายไปตาม ถ. บึงแก้ว และเลี้ยวซ้ายอีกครั้งไปตาม ถ. ขจิตพัฒนา จนถึง ถ. แจ้งสนิทหรือทางหลวงหมายเลข 229 เมื่อเลี้ยวซ้ายจะวนกลับมาหน้าที่ว่าการอำเภออีกครั้ง เส้นทางวนเป็นวงกลมผ่านร้านค้า ผ้าไหมที่เรียงรายอยู่กว่า 60 ร้าน ด้านหลังบางร้านเป็นโรงงานทอผ้าโดยฝีมือช่างชาวชนบท สามารถขอเข้าเยี่ยมชมได้ รถทัวร์มักจอดพักให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อผ้าไหมผ้าไหมของ อ. ชนบทมีชื่อเสียงมาก โดยเฉพาะผ้าไหมมัดหมี่ เคยได้รับรางวัลชนะเลิศจากงานมหกรรมสิ่งทอเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2535 ลายมัดหมี่ที่เป็นเอกลักษณ์สืบทอดกันมาของชาวชนบท มีลายหมี่กง ลายหมากเป้่ง ลายหมี่ของพระเทพฯ เป็นต้น
5.นมัสการย่าโมเมืองโคราช
เป็นอนุสรณ์แด่วีรกรรมอันกล้าหาญของวีรสตรีไทย หรือย่าโม ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันติดปากโดยทั่วไป สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 ตั้งอยู่กลางเมือง ชาวต่างถิ่นที่แวะมาเยือนและชาวเมืองโคราชนิยมมาสักการะและขอพรจากย่าโมอยู่เสมอ อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนฐานไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่านท้าวสุรนารีมีนามเดิมว่า คุณหญิงโม เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ยกทัพเข้ายึดเมืองโคราช คุณหญิงโมได้รวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบและต่อต้านกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ไม่ให้ยกมาตีกรุงเทพฯได้เป็นผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี ประชาชนพร้อมใจกันจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารีขึ้นระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน เป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีของท่าน
6.ขอพรหลวงพ่อโต วัดเนินกุ่ม อ.สีคิ้ว นครราชสีมา
ตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมาประมาณ 42 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อทองเหลืองรมดำ หลวงพ่อโต (สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยผู้ที่ก่อตั้งวัดเนินกุ่มก็คือ คุณสรพงษ์ ชาตรี ดาราภาพยนตร์ชื่อดังในประเทศไทย โดยผู้ที่มาวัดนี้นอกจากจะได้สักการะขอพรจากหลวงพ่อโตแล้ว ยังได้สัมผัสกับสิ่งก่อสร้างภายในวัดและสวนหย่อมที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม การเดินทาง จากกรุงเทพ มายังปากทางสู่อีสาน ตามทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ประมาณ 42 กิโลเมตร ก่อนถึงโคราช จะเห็นวัดโนนกุ่มที่ตั้งอย่างตระหง่านได้อย่างชัดเจน
7. อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
ลักษณะภูมิประเทศมีทั้งส่วนที่เป็นพื้นดินและส่วนที่เป็นอ่างเก็บน้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 45 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ป่าเหนืออ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อนของเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นเทือกเขาที่เป็นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า ยอดสูงสุดได้แก่ เขางะงันนิกยวกตอง สูงประมาณ 1,513 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยเฉลี่ยสูงประมาณ 500เมตร ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินแกรนิต บางแห่งเป็นเขาหินปูน ในหลายแห่งอุดมไปด้วยแร่ฟลูออไรน์ ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี ลำห้วยสำคัญของแม่น้ำเพชรบุรีที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้แก่ ห้วยประโดน ห้วยบางกลอย ห้วยแม่เสลียง ห้วยหินเพิง ห้วยสาริกา ห้วยฝาก ห้วยไผ่ และห้วยสามเขา ลำห้วยที่สำคัญของแม่น้ำปราณบุรีในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ได้แก่ ห้วยคมกฤช ห้วยโสก แม่น้ำสัตว์ใหญ่ ห้วยป่าแดง และห้วยป่าเลา ซึ่งเป็นอีกสถานที่ที่ประทับใจ และเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อนและอาจารย์

การศึกษาดูงาน

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553 03:48 by สุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น 0 ความคิดเห็น
จากการทัศนศึกษาดูงาน
โครงการพัฒนานักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
“นครศรีธรรมราช-ลาว” 17-22 มกราคม 2553
1.ประสบการณ์จากการศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลหนองคาย
2.แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมบริบทของประเทศลาว
3.ดูงานหมู่บ้านงูจงอางได้อะไรบ้าง
4.ดูงานที่จังหวัดเพชรบุรีได้อะไรบ้าง
ออกเดินทาง ณ ศาลาประดู่หก อำเภอเมือง จ.นครศรีธรรมราช เริ่มออกเดินทางเวลา 08.00 น.
ระหว่างการเดินทางเต็มไปด้วยมิตรภาพ รอยยิ้ม ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน พี่กับน้อง น้องกับพี่ เพื่อนกับเพื่อน ศิษย์กับครู ล้วนเกิดความรัก ความผูกพัน ความสมัครสมาน สามัคคี ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.ประสบการณ์จากการศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลหนองคาย
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนอนุบาลหนองคาย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2510 สังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา เดิมตั้งอยู่ที่ ต.มีชัย อ.เมือง จ.หนองคาย มีเนื้อที่ 8 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2530 ได้ย้ายออกมาตั้งอยู่บริเวณศูนย์ราชการเลขที่ 239 ม.1 บ้านดอนดู่ ต.หนองกอมเกาะ อ.เมือง จ.หนองคาย การศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลหนองคายครั้งนี้ ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากผู้อำนวยการนายสัมฤทธิ์ เจริญดี และคณะครูที่มาต้อนรับ พวกเราได้รับความรู้ด้านต่างๆ จากโรงเรียนอนุบาลหนองคาย เนื่องจากโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพด้านต่างๆ คือ
1. โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา
2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
3. โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4. โรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย
5. โรงเรียนวิถีพุทธ
6. โรงเรียนส่งเสริมสุภาพ
7. โรงเรียนดีศรีหนองคาย
2.แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมบริบทของประเทศลาว
ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีนลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือ และ เขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ซึ่งพรรคนี้เริ่มมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยมเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ประธานประเทศ (ประธานาธิบดี) ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวคนปัจจุบัน ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี คือ พลโทจูมมะลี ไซยะสอน (ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอีกตำแหน่งหนึ่ง) ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายบัวสอน บุบผาวัน
ประเทศลาวใช้ภาษาลาวเป็นภาษาราชการทั้งในส่วนของภาษาพูดและระบบการเขียน ส่วนในกลุ่มชาวลาวเทิงและชาวลาวสูงยังคงมีการใช้ภาษาประจำเผ่าของงตนควบคู่กับภาษาลาว ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นที่มีการใช้ได้แก่ภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ปัจจุบันยังคงใช้ในวงราชการและการติดต่อค้าขายบ้าง อีกภาษาหนึ่งที่สำคัญคือภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในการติดต่อกับต่างประเทศและการค้า ซึ่งนับวันการศึกษาภาษาอังกฤษก็ยิ่งจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับอัตราการรู้หนังสือของลาวนั้น ประชากรเพศชายรู้หนังสือร้อยละ 67 หญิงร้อยละ 43 เมื่อคิดเฉลี่ยรวมทั้งสองเพศแล้วปรากฏว่าประเทศลาวมีอัตราประชากรที่รู้หนังสือ ร้อยละ 56
ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ (ร้อยละ 60 ของชาวลาวทั้งหมด) ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์ส่วนมากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อยจีนฮ่อที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสายเอเชียใต้ และจามในเวียงจันทน์การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของลาวคือผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง) อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้น
ชีวิตของคนลาวมีส่วนคล้ายคลึงกับประเทศไทยมากแต่ความเจริญก้าวหน้ายังล้าหลังกว่าประเทศไทย คนลาวมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างเรียบง่ายและ คนลาวสามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
3.ดูงานหมู่บ้านงูจงอางได้อะไรบ้าง
การศึกษาดูงานที่หมู่บ้านงูจงอาง ที่บ้านโคกสง่า ตำบลทรายมูล ได้ร่วมดูการแสดงคนกับงูจงอาจ ซึ่งเป็นการแสดงที่ค่อนข้างอันตรายคนที่ไม่มีประสบการณ์จะลองทำไม่ได้ วิถีชีวิตคนที่นั้นยังเป็นสังคมชนบทอยู่มาก มีการหาสมุนไพรมาขาย และได้รับการต้อนรับที่ดีจากชุมชนที่นั้น
4.ดูงานที่จังหวัดเพชรบุรีได้อะไรบ้าง
การศึกษาดูงานที่จังหวัดเพชรบุรี ณ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ได้เข้าพักบ้านพักและร่วมรับประทานอาหารร่วมกันในตอนเย็นมีการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

slide

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553 05:41 by สุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น 0 ความคิดเห็น

โปรแกรม SPSS

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553 22:33 by สุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น 0 ความคิดเห็น
เตรียมเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมประเมินผล
- เปิดโปรแกรม SPSS 11.5 For Window เริ่มต้นสู่โปรแกรมเมื่อคลิกที่โปรแกรม SPSS จะเข้าสู่โปรแกรมดังรูป ซึ่งหากมีแฟ้มข้อมูลเดิม จะสามารถเลือกจากหน้าต่างนี้ หากต้องการเริ่มต้นใหม่ ให้คลิก Cancel เพื่อเข้าสู่ส่วนตารางทำงาน หรือที่เรียกว่า Data Editor
- การป้อนข้อมูลในการป้อนข้อมูล หากต้องการป้อนข้อมูลเข้าอย่างโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ใน Data Editor สามารถทำการ Copy และ Paste ข้อมูลในลักษณะของ Spread sheet ทั่วไปได้ ทำให้สะดวกต่อการใช้ป้อนข้อมูล ไปที่ Variable view เพื่อกำหนดค่าตัวแปร และไปที่ Data view เพื่อใส่ข้อมูล โดย- Variable view สร้างรหัสและการกำหนดค่าตัวแปร เช่น ตัวแปร sex เพศ ให้ 1 แทน ชาย และ 2 แทน หญิง , ageอายุ 1 แทน 20- 29 ปี 2 แทน 30-39 ปี 3 แทน...,degree การศึกษา ให้ 1 แทน ปริญญาตรี 2 แทน ปริญญาโท 3 แทน....เป็นต้น
- สร้างรหัสกำหนดค่าความพึงพอใจที่สอบถาม เช่น ความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านวิชาการ แทนด้วย a ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด แทนด้วย a1 มาก แทนด้วย a2 น้อยแทนด้วย a3 , ความพึงพอใจต่ออาคารสถานที่ แทนด้วย b ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด แทนด้วย b1 มาก แทนด้วย b2 น้อยแทนด้วย b3 เป็นต้น- Data view นำแบบสอบถามมาลงคะแนนความถึ่(บันทึกข้อมูล)ให้ครบถ้วน
- เมื่อบันทึกเสร็จแล้ว ไปที่ Transform เลือก compute...ไปหาค่าฉลี่ย ของข้อมูล
-การวิเคราะห์ผลทางสถิติในการวิเคราะห์นั้น จะใช้เมนู Statistics ดังรูป โดยจะมีเมนูย่อยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่าง ๆ เช่น Descriptive Statistics, Compare Mean, General Linear Model, Correlation