ใบงานที่ 11




ในวาระดิถึขึ้นปีใหม่ ขออวยพรให้ อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์ และครอบครัว จงมีความสุข ความเจริญ หวังสิ่งใดให้ได้ สมปรารถนาทุกประการ และก้าวหน้าในหน้าที่การงานตลอดไปเทอญ

ความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้สอน

อาจารย์เป็นผู้มีความตั้งใจในการให้ความรู้ และมีความตั้งใจสูงในการให้การศึกษาแก่นักศึกษาเพื่อให้ได้รับความรู้และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานได้ ในบางครั้งอาจารย์อาจจะเกิดขัดข้องใจบ้างเพราะความแตกต่างระหว่างวัยของนักศึกษา ทำให้การเรียนการสอนเกิดความล้าช้าขึ้น จึงต้องขออภัยแทนนักศึกษาทุกท่านหากทำให้อาจารย์ขุ่นข้องใจ และชมความตั้งใจของอาจารย์ที่มุ่งให้ความรู้อย่างแท้จริง

ความรู้สึกที่มีต่ออาจารย์

ดีใจที่ได้เรียนวิชานี้ เพราะได้รับความรู้ใหม่ๆ ได้พัฒนาตนเองในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในโลกยุดปัจจุบันอย่างมาก และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง เช่น สามารถนำความรู้ไปตกแต่งเว็บไซด์ของหน่วยงาน องค์กรของตนเองหรือแม้กระทั้งนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนได้อีกด้วย รวมทั้งสามารถสร้างบล็อคของตนเองเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทำให้ทันต่อเทคโนโลยีสมัยปัจจุบัน ถ้าหากไม่ได้เรียนวิชานี้ ก็คงจะตามเทคโนโลยีไม่ทัน ต้องขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะที่ทำให้เป็นคนไม่ล้าสมัยอีกต่อไป

ใบงานที่ 8 SPSS OF WINDOWS

00:21 by สุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น 0 ความคิดเห็น

โปรแกรม SPSS OF WINDOWS

สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ให้ข้อความต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นตัวเลขเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐเท่านั้น ตัวเลขนี้มักจะอยู่ในลักษณะของยอดรวม ซึ่งประมวลมาได้จากข้อมูลเบื้องต้น หรือบางครั้งเป็นตัวเลขที่เป็นผลมาจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบหรือจากการคิดคำนวณ หรือจากการจัดกระทำตามระเบียบวิธีสถิติกับข้อมูลอื่น ๆหลายรายการ

ค่ามัธยฐาน ค่าที่มีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียงค่าของข้อมูลจากน้อยที่สุดไปหามากที่สุดหรือจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด

ค่าฐานนิยม คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รากที่สองของค่าเฉลี่ยของกำลังสองของส่วนเบี่ยงเบนค่าเฉลี่ย ทางสถิติ หมายถึง ค่ากลางของข้อมูลแต่ละชุด เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต จากค่าเฉลี่ยเลขคณิต ใช้วัดการกระจายของข้อมูล เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ s

ประชากร หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้

กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล

มาตราการวัดระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) เป็นระดับที่ใช้จำแนกความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยใช้ตัวเลข

มาตราการวัดระดับเรียงอันดับ (Ordinal Scales) เป็นระดับที่ใช้สำหรับจัดอันดับที่หรือตำแหน่งของสิ่งที่ต้องการวัด ตัวเลขในมาตราการวัดระดับนี้เป็นตัวเลขที่บอกความหมายในลักษณะมาก-น้อย สูง-ต่ำ เก่ง-อ่อน กว่ากัน

มาตราการวัดระดับช่วง (Interval Scale) เป็นระดับที่สามารถกำหนดค่าตัวเลขโดยมีช่วงห่างระหว่างตัวเลขเท่า ๆ กัน สามารถนำตัวเลขมาเปรียบเทียบกันได้ว่าว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าใด แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นกี่เท่าของกันและกัน เพราะมาตราการวัดระดับนี้ไม่มี 0 (ศูนย์) แท้ มีแต่ 0 (ศูนย์) สมมติ

มาตราการวัดระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับที่สามารถกำหนดค่าตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการวัด มี 0 (ศูนย์) แท้ เช่น น้ำหนัก ความสูง อายุ เป็นต้น ระดับนี้สามารถนำตัวเลขมาบวก ลบ คูณ หาร หรือหาอัตราส่วนกันได้ คือสามารถบอกได้ว่า ถนนสายหนึ่งยาว 50 กิโลเมตร ยาวเป็น 2 เท่าของถนนอีกสายหนึ่งที่ยาวเพียง 25 กิโลเมตร

ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต สามารถนำมาศึกษาวัดได้ นับได้ หรือแจกแจงได้ คุณลักษณะและคุณสมบัติเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้ หรือเปลี่ยนค่าได้ อาทิ ความคิดเห็น ความพึงพอใจ ฐานะทางการเงิน ฐานะทางสังคม จำนวนสมาชิกในครอบครัว

ตัวแปรต้น (Independentvariables) หมายถึงตัวแปรที่สามารถมีผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อตัวแปรอื่นๆได้

ตัวแปรตาม (Dependentvariables) หมายถึง ตัวแปรที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากตัว แปรต้น

สมมติฐาน คือ คำสรุปโดยอาศัยการเดาเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้า และคำสรุปนั้นยังไม่คงทีแน่นอนตายตัว มีรากฐานมาจากความเป็นจริง สามารถทดสอบได้โดยการใช้ข้อมูล สมมติฐานอาจเป็นคำพูดที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อทำนายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น

ประเภทของสมมุติฐานการวิจัย

1.สมมุติฐานที่เน้นการตอบปัญหาโดยไม่คำนึงมีการทดสอบทางสถิติ

2.สมมุติฐานที่เน้นการตอบปัญหาโดยการทดสอบทางสถิติ

T – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้

F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป

ใบงานที่ 9 : คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552 01:28 by สุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น 0 ความคิดเห็น
เลขที่ 5246701061 ชื่อ - สกุล นางสุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น ตำแหน่ง ครู

คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ ( Management Professional )
1. การมีภาวะผู้นำ (Leadership) ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบของความรู้ความเข้าใจ (Knowledge) การรู้จักตัดสินใจ (Decision making) รู้จักและสามารถนำเอาวิธีการและกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหา (Problem solving)มาใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ได้ และเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำที่กำหนดทิศทางขององค์กรและเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดี (Lead direction) สร้างพลังในการทำงานเป็นทีม (Team work) และการมีส่วนร่วมของเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiative) เป็นต้น
2. เป็นบุคคลที่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ที่ได้รับหรืออยู่ในขอบข่ายของภารกิจที่รับผิดชอบอย่าง (Role Model & Responsibility)
3. มีทักษะในการสื่อสาร(Communication skill) ที่เป็นเลิศ ที่สามารถสื่อสารทั้งทางตรง ทางอ้อม ที่ทำให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้ที่อยู่ใต้การบังคับบัญชาสามารถเข้าใจง่าย และเข้าถึงในสิ่งที่เราต้องการ
4. เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ (vision) มีความคิดและมุมมองที่กว้าง และเป็นผู้ที่มองการณ์ไกล
5. จะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ที่มีความสามารถบริหารจัดการในท่ามกลางยุคของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (Change management)ให้ได้ ซึ่งจะประกอบด้วยวิธีการและกระบวนการที่แตกต่างไปตามวัฒนธรรมขององค์กร นั้น ๆ อย่างไรก็ตาม การนำหลักการยอมรับการเปลี่ยนแปลง การคิดค้นหาเรื่องราวสิ่งใหม่ ๆ มาสู่องค์กร การพัฒนาบุคลากรให้เรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การไม่ยอมจำนนต่อข้อจำกัดหรือบริบทเดิม ๆ ขององค์กร การคิดนอกกรอบ
6 เป็นผู้ที่ยอมรับและเป็นผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะนำองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้(Knowledge Based Organization)
หลักการบริหารองค์กรให้ประสบผลสำเร็จ
ในการบริหารงานไปสู่ความเป็นเลิศ และประสบผลสำเร็จ นั้น ผู้บริหารควรมีหลักการในการทำงานที่มีความชัดเจน ในแต่ละประเด็น อาทิ เช่น
1. การกำหนดนโยบายบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมที่มีความคมชัด (Clear Policy) ซึ่งสามารถที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ต่อเนื่องและบังเกิดผล
2. มีความรอบรู้และสามารถสั่งการหรือมอบหมายงานรวมทั้งการสื่อสารในองค์กร (Direction & Communication) ที่ทำให้เกิดการยอมรับในกลุ่มเพื่อนร่วมงานและผู้ที่อยู่ใต้การบังคับบัญชา ที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ง่าย พร้อมที่จะรับนโยบายหรือรับคำสั่งไปใช้ในทางปฏิบัติได้
3. ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ที่มีความสามารถบริหารจัดการในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง (Change management) ในองค์กรให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบและมีกระบวนการ โดยผ่านขั้นตอนของการเรียนรู้หรือการสร้างให้เกิดให้ความรู้ (Knowledge) กันในหมู่คณะ เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อที่จะเข้าใจในผลประโยชน์ (Benefits for all)ที่จะเกิดขึ้นว่าเป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ส่วนรวมของคนหมู่มากและองค์กร โดยไม่มีวาระซ่อนเร้น(Hidden agenda)แต่ประการใด ซึ่งจะเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่การสร้างการยอมรับ (Buy in)ให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ ง่ายต่อการที่จะเข้ามามีส่วนร่วม (Participation) ก่อเกิดความรู้สึกและความรับผิดชอบที่ผูกพัน (Commitment)ต่อองค์กร และนำไปสู่ความเป็นวัฒนธรรม(Culture)ขององค์กรในที่สุด

สรุปคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ
การบริหารจัดการที่ดี พึงมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ หลายประการ ในเบื้องต้นผู้บริหารควรมีความยึดมั่นและให้ความสำคัญกับหลักการในการทำงาน (Principle focus) เพื่อที่จะสร้างเป็นบรรทัดฐานให้กับองค์กร ด้วยการนำหลักการบริหารแบบธรรมาภิบาล (Good Governance) มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรและขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ได้ ซึ่งหมายถึง การนำเอาแนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้องค์กรของเราเอง สังคม และภาคประชาชนทั่วไป สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ประกอบด้วยหลักการ 6 ประการ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม (Morality) หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายใน เชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility ) หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Cost effectiveness or Economy) หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน ในขณะเดียวกัน นักบริหารที่ดี ควร เป็นผู้ที่สามารถจัดการการเปลี่ยนแปลง และความขัดแย้ง (Conflict management) ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้ โดยก่อให้เกิดการยอมรับอย่างสร้างสรรค์ ไม่ให้เกิดความรู้สึกที่สูญเสีย และควรใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบชนะ-ชนะ (Win - Win Solution) ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้บุคลากรในองค์กรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนา (Learning Organization) อยู่อย่างต่อเนื่องยั่งยืน

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

คำชี้แจง Google มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?

ประโยชน์ของ Google ในการบริการ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม โดยแบ่งออกตามความสามารถในการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้1. บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา(Search Engines) Google Web Search Features ประกอบด้วยบริการค้นหาต่อไปนี้ Book Search : บริการค้นหาหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ของ Google ที่เพิ่งเปิดให้บริการกับแฟนหนังสือโดยเฉพาะ Cached Links :บริการช่วยจับประเด็นหรือหัวเรื่องสำคัญของเว็บไซต์ที่คุณต้องการจะค้นหา Calculator : เครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่คุณสามารถตั้งตัวเลข โดยคีย์ลงในช่องค้นหาของ Google แล้วคลิ้กหาคำตอบที่ต้องการได้เลย Currency Conversion : บริการแปลงหน่วยมาตราเงินสำหรับระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา Definitions : หมวดคำศัพท์ที่คุณสามารถค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย File Types : ดัชนีค้นหาสินค้าออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก Groups : ถ้าหากว่าคุณอยากรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคนโพสต์กันบนเว็บไซต์ สามารถค้นหาได้จากบริการนี้ I ‘m Feeling Lucky : ปุ่มบริการดัชนีค้นหาที่ช่วยให้ค้นหาเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็น โดยข้ามลิงก์ของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกตัดออกไป Images : ระบบดัชนีค้นหารูปภาพที่คลิกได้ง่าย และเร็วทันใจ Local Search : บริการค้นหาธุรกิจและบริการต่าง ๆ ที่เปิดในสหรัฐ อังกฤษ และแคนาดา Movie : คุณสามารถเข้าไปดูรีวิวภาพยนตร์หรือว่าตารางโปรแกรมฉายแบบเรียลไทม์ได้จากฟีเจอร์นี้ Music Search : ดัชนีค้นหาเพลงหรือว่าดนตรีที่มีให้บริการฟังเพลงออนไลน์หรือว่าดาวน์โหลดเพลงจากทั่วโลก News Headlines : บริการที่ทำให้คุณสารารถรู้ข้อมูลข่าวสารทันในที่ส่งมาจากรอบโลกแบบเรียลไทม์ PhoneBook : บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์และเลขที่บนท้องถนนของสหรัฐอเมริกา Q&A : บริการใหม่ที่คุณอยากรู้อะไรเกี่ยวกับ Google บริการนี้ตอบปัญหาให้คุณได้ทุกเรื่อง Similar Pages : บริการแสดงหน้าเว็บเพจที่แสดงผลในหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง Site Search : กำหนดขอบเขตของการค้นหาเว็บไซต์ให้แคบลง Spell Checker : เครื่องมือช่วยในการสะกดคำ Stock Quotes : ดัชนีค้นหาสำหรับราคาหุ้นแบบเรียลไทม์ Travel Information : บริการตรวจสอบสายการบินในสหรัฐ รวมถึงรายงานสภาพอากาศของสนามบิน Weather : บริการตรวจสอบสภาพอากาศและการพยากรณ์อากาศในทุกรัฐของสหรัฐ Web Page Translation : บริการแปลหน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่น ๆ 2. บริการในกลุ่ม Google Services Alerts : Answer :บริการแจ้งเตือนข่าวสารและผลการค้นหาผ่านอีเมล์แบบออนไลน์ บริการตอบคำถามให้กับคุณได้ทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ โดยนักวิจัยชื่อดังกว่า 500 คน Blog Search : บริการค้นหาหัวข้อเรื่องที่เป็น Blog Catalogs :ในประเด็นที่คุณสนใจ บริการค้นหารายการสินค้าที่คุณสนใจและต้องการจะสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ Directory : บริการค้นหาสาระสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์ Labs : บริการใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดสอบใช้งานได้ฟรี ก่อนที่จะออกมาเป็นชุดเต็มของโปรแกรม Mobile : บริการหลักของ Google ที่สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือ เช่น บริการดัชนีค้นหาเอกสาร รูปภาพ หรือส่ง SMS News : บริการรายงานข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ จากทั่วทุกมุมโลกที่มีให้คุณได้อ่านก่อนใคร Scholar : บริการค้นหาเอกสารงานวิจัยใหม่ ๆ รวมทั้งบทคัดย่อจากห้องสมุดใหญ่ ๆ มากมาย Special Searches : บริการค้นหาประเด็นสาธารณะในส่วนที่เป็นองค์กร หรือว่าสถาบันที่ไม่หวังผลกำไรต่างๆ รวมถึงบริการค้นหาเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดในเรื่องของหลักสูตรการสอนและระเบียบวิธีการเข้าศึกษาต่อทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย Video : บริการค้นหารายการทีวีทางโทรทัศน์ เกมโชว์ มิวสิควิดีโอ ที่คุณสามารถเช่าชั่วโมงมาดูกันแบบออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ3. บริการในกลุ่ม Google Tools Blogger : เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือสำหรับสร้าง Blogger ของคุณเอง Code : เครื่องมือสำหรับดาวน์โหลด APls และ Source code Desktop : เครื่องมือสำหรับช่วยค้นหาไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Earth : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถค้นหาแผนที่โลกจากดาวเทียม Gmail : บริการอีเมล์รุ่นทดสอบของ Google ที่มีความจุกว่า 2.6 กิกะไบต์ Pack : ชุดเครื่องมือรวมฮิตของ Google รวมถึงบราวเซอร์สุด เก่ง Firetox Picasa : เครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการรูปภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ Local for Mobile : เครื่องมือสำหรับค้นหาแผนที่ของสถานที่ต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ Talk : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถพูดคุย ส่งอีเมล์· กับเพื่อนของคุณแบบเรียลไทม์ออนไลน์ Toobar : กล่องเครื่องมือที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Google Translate : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถดูเว็บไซต์ได้หลาย ๆ ภาษา Labs : กลุ่มของชุดเครื่องมือใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดลองดาวน์โหลดได้ฟรี ที่มา:http://learners.in.th/blog/meaw-3/116386

Google คือ ผู้ให้บริการ Search Engine ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีผู้นิยมใช้งานมากกว่า 80% จากผู้เล่นอินเตอร์เน็ตทั้งหมด Google นอกจากจะให้บริการ Search Engine แล้ว ยังมีบริการอื่นๆที่มีประโยชน์อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่นGmail หรือ Google Mail เป็นบริการอีเมลล์ฟรีและมีขนาดพื้นที่เก็บเมลล์ใหญ่จุใจ ที่สำคัญ Google ให้ใช้ฟรีซะด้วยสิGoogle Adsense เป็นแหล่งทำเงินบนอินเตอร์เน็ตชั้นดี ไม่ใช่ระบบลูกโซ่แบบที่เห็นๆกันในมากมายในบ้านเรา และที่ดีที่สุดคือไม่เบี้ยวเงินเราแน่นอน เมื่อเราทำยอดได้ตามเป้าหมาย กูเกิ้ลก็จะส่งเช็คมาถึงตู้จดหมายบ้านเราศึกษาเกี่ยวกับ การหารายได้จาก Google Google Adwords ใช้สำหรับลงโฆษณากับกูเกิ้ล เป็นการโปรโมทเว็บไซต์ในระยะสั้น และค่อนข้างได้ผลดี (โดยเฉพาะเว็บภาษาอังกฤษล้วน)Google Adwords เองยังสามารถนำไปประยุกต์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วยBlogger เป็น blog สารพัดประโยชน์ที่ผลิตโดยกูเกิ้ล จึงรองรับ Application ต่างๆในเครือกูเกิ้ลด้วย เช่น Google Adsense, Picasa Photo Album เป็นต้น ทำให้เราสามารถสร้าง blog ดีๆแถมยังทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำอีกด้วยGoogle Webmaster Tools ชื่อก็บอกนะว่าเครื่องมือสำหรับเว็บมาสเตอร์ ซึ่งก็จะช่วยเว็บมาสตอร์จัดการส่งเว็บไซต์ของตนเข้าสู่การ index ในกูเกิ้ล และมีบริการเก็บสถิติการ crawl จาก Google Bot ด้วยGoogle Analytics เป็นบริการวิเคราะห์สถิติของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ อีกทั้งยังสามารถบอกแหล่งที่มาของผู้เข้าชม และ พื้นที่ของประเทศที่ผู้เข้าชมอาศัยอยู่ด้วย โดยเว็บมาสเตอร์ส่วนมากจะต้องมีติดเว็บกันไว้เกือบทุก
ได้ประโยชน์จากคำแนะนำที่ตรงไปตรงมาของลูกค้าอีกด้วย บริษัทชั้นนำต่างเลือกที่จะใช้ Blog มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดกันแล้ว โดยบางแห่งใช้ทั้ง Blog อย่างเป็นทางการของบริษัท แถมยังเปิดให้พนักงานได้เขียน Blog ของตนเองอีกด้วย โดยวิธีการนี้นับเป็นการทำการตลาดโดยการสร้างการรับรู้ตราสินค้า (Brand) โดยทางอ้อมอีกด้วยนอกเหนือจากองค์กรธุรกิจแล้ว บุคคลที่ทำงานคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม สามารถใช้ Blog เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงาน หรือขายสินค้าของตนได้อีกด้วยเช่น ช่างภาพ, ศิลปิน, นักออกแบบ, นักเขียน, นักวาดการ์ตูน , ร้านค้า , ฯลฯอ้างอิง http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=chanthira&month=17-01-2008&group=1&gblog=7

เรียน อาจารย์ที่เคารพ
ข้าพเจ้า นางสุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น รหัส 5246701061 ทำใบงานตามที่อาจารย์มอบหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดส่งอาจารย์ทางอินเตอร์เน็ต

คณะคราสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

20:13 by สุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น 0 ความคิดเห็น
การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
รหัสวิชา 1036301
ดร. ประกอบ ใจมั่น
อาจารย์อภิชาต วัชรพันธ์

ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘
สถานที่ตั้ง ต. ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่อง การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
ภารกิจของสถานศึกษาซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาตามหลักการกระจายอำนาจ ตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กฎหมายว่าด้วยการกระจายอำนาจให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ.2550 ได้แบ่งขอบข่ายงานของสถานศึกษา ออกเป็น4 ด้าน ซึ่งได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านบริหารทั่วไป
ซึ่งในการบริหารจัดการของแต่ละฝ่ายงานย่อมต้องการการดำเนินการจัดระบบการบริหารและสารสนเทศให้เป็นระบบ เป็นปัจจุบัน ถูกต้อง ซึ่งการจัดระบบการบริหารและสารสนเทศนั้น ต้องดำเนินการให้ครอบคลุมบริบททุกด้านเพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของของสถานศึกษา จากความสำคัญของข้อมูลและระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการในสถานศึกษานั้น อาจแบ่งออกเป็น 4 ระบบคือ
1)ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
2)ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน
3)ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ
4)ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
วิสัยทัศน์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้นักเรียนมีคุณธรรม นำวิชาการ สู่มาตรฐานการศึกษายุทธศาสตร์
1. พัฒนาคุภาพผู้เรียน
2. พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
3. ปรับสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้พร้อมในการจัดการศึกษา
4. พัฒนากลไกในการประสานส่งเสริมเครือข่ายโรงเรียนในพระราชดำริ
5. ดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ
บริบทของสถานศึกษา
๑. ข้อมูลทั่วไป
๑.๑ ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘ ตั้งอยู่เลขที่ - หมู่ที่ ๑๕ ตำบล ท่าศาลา อำเภอ ท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ ๘๐๑๖๐ โทรศัพท์ ๐๗๕ – ๓๖๙๔๘๖ โทรสาร ๐๗๕ – ๓๖๙๔๘๖ Email rat – 8 @ thaimail. Com. Website
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครศรีธรรมราช เขต ๔
๑.๒ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล ๑ ถึงระดับ มัธยมศึกษาปีที่ ๓
๑.๓ มีเขตพื้นที่บริการ ๔ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๑๔ และหมู่ที่ ๑๕
๒. ข้อมูลด้านการบริหาร
๒.๑ ชื่อ – สกุลผู้บริหาร นายไพโรจน์ โพถาวร
วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท สาขา บริหารการศึกษา
ดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนนี้ตั้งแต่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา
๔ ปี ๕ เดือน
๒.๒ ผู้ช่วยผู้บริหาร (ที่ได้รับแต่งตั้ง) ๒ คน
ชื่อ นายเรืองศักดิ์ สุพงษ์วิบูลพันธ์ วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท
ชื่อ นายสุธรรม บุญติด วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญญาโท
๒.๓ ประวัติโดยย่อ คำขวัญ และวัตถุประสงค์เฉพาะของสถานศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘ (ในพระบรมราชูปถัมภ์) เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑๖
พฤษภาคม ๒๕๘๒ เดิมชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลท่าศาลา ๓ (บ้านหน้าทับ) ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๐๕ได้เกิดวาตภัยขึ้นเป็นเหตุให้อาคารเรียนเสียหายหมด ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน พระองค์ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดสร้างอาคารเรียนแบบ ๐๐๔ หนึ่งหลัง ๒ ชั้น ขนาด ๘ ห้องเรียน เป็นอาคารไม้ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ทางราชการสมัยนั้นได้ เรียนเชิญ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมกันนั้นพระองค์ทรงพระราชทานเปลี่ยนชื่อโรงเรียน ตามโครงการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เป็นโรงเรียนราชประชานุเคราะห์๘ (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีผู้บริหารโรงเรียนจนถึงปัจจุบันรวม ๑๒ คน
คำขวัญประจำโรงเรียน
รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานตามพระราชดำริ
วัตถุประสงค์เฉพาะของสถานศึกษา
๑. ประชากรกลุ่มอายุ ๔ - ๕ ปี ได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างทั่วถึง
๒. ประชากรวัยเรียนได้รับสิทธิ และโอกาสในการได้รับการศึกษาภาคบังคับ
๓. เด็กพิการ / เด็กด้อยโอกาส ได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ ตามศักยภาพ
๔. พัฒนาหลักสูตรเพื่อนำไปสู่กระบวนการการจัดกระบวนการเรียนรู้
๕. จัดการเรียนการสอนตามแนวที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
๖. นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบจบการศึกษาภาคบังคับ
๗. พัฒนาระบบประกันคุณภาพสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๘. ครู ได้รับการพัฒนาและผ่านเกณฑ์การประเมิน มาตรฐานวิชาชีพครู
๙. พัฒนาระบบบริหารให้มีประสิทธิภาพ เตรียมรับการกระจายอำนาจ
๑๐. สถานศึกษาได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาการศึกษา
๑๑. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ และสื่อเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ
๑๒. ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ผ่านทางการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการ
๒.๔ ระบบโครงสร้างการบริหาร
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘ ได้จัดโครงสร้างการบริหารงานเป็น ๔ ฝ่ายงาน ได้แก่ ฝ่ายงานบริหารวิชาการ ฝ่ายงานบริหารงบประมาณ ฝ่ายงานบริหารบุคคลและฝ่ายงานบริหารทั่วไป ได้ยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม หมู่คณะ ความเสียสละ และความตั้งใจในการทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สงผลไปยังนักเรียนและเกิดผลดีต่อทางราชการเป็นสำคัญยิ่ง
๓. ข้อมูลนักเรียน
ปัจจุบันโรงเรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนนักเรียน (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑) ดังนี้
๑) จำนวนนักเรียนในเขตพื้นที่บริการทั้งหมด ๑,๐๙๗ คน
๒) จำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน
๕. สภาพชุมชนโดยรวม
๕.๑ สภาพชุมชน รอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะชุมชนแออัดมีประชากรประมาณ ๓,๐๐๐ คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียนได้แก่ ป้อมตำรวจ ตลาด มัสยิด อาชีพหลักของชุมชน คือ ประมง รับจ้าง ค้าขาย เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ พิธีเข้าสุนัด วันฮารีรายอ
๕.๒ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ประกอบอาชีพประมง (คิดเป็นร้อยละ) ๗๐
นับถือศาสนาอิสลาม (คิดเป็นร้อยละ) ๙๘
ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ย ต่อครอบครัว ต่อปี ๑๕,๐๐๐ บาท
จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว ๘ คน
๕.๓ โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน
โรงเรียนอยู่ติดถนน ๒ ด้าน ทำให้เกิดมลพิษในเรื่องฝุ่นละออง และเสียงจากยานพาหนะตลอดเวลา นักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียน และมักเกิดอุบัติเหตุหน้าโรงเรียนบ่อยครั้ง พื้นที่บริเวณโรงเรียนมีจำกัดไม่เหมาะสมกับจำนวนนักเรียนที่มีจำนวนมาก ยากแก่การจัดแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
โรงเรียนอยู่ใกล้มัสยิดจึงได้รับความช่วยเหลือในการอบรมนักเรียนตามหลักศาสนาอิสลาม และโรงเรียนได้รับความเอื้อเฟื้อด้านสถานที่จากมัสยิดในการนำนักเรียนชายของโรงเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาทุกวันศุกร์
สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘ ไดรับการประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบแรกเมื่อวันที่ ๑๘ ถึง วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยโรงเรียนได้ปรับปรุงและพัฒนาตามประเด็นที่ สมศ. ได้แสดงผลการประเมินและเสนอแนวทางไว้ โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตลอดปีการศึกษา ๒๕๔๙ - ๒๕๕๐ ภายใต้การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมนำขบวนการ PDCAR ๕ ส. พอเพียง ผลการดำเนินงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีเป็นที่น่าพอใจ สถานศึกษาต้องอาศัยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้นและพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อ เทคโนโลยีให้มากขึ้น โดยนักเรียนและบุคลากรมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน มีความเสียสละ ในการศึกษาหาความรู้และปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้บรรลุตามตัวบ่งชี้ของมาตรฐานขั้นพื้นฐานและมาตรฐานปฐมวัย
ผลสำเร็จที่เป็นจุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนา
ผลสำเร็จที่เป็นจุดเด่น
๑. คณะครูและผู้บริหารสถานศึกษา มีความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และสถานศึกษามีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน
๒. คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชน ให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาเป็นอย่างดี
๓. โรงเรียนประสบความสำเร็จในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณธรรม จริยธรรม ตามวิสัยทัศน์ของโรงโรงเรียน และสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกายและจิตใจ มีสุนทรียภาพด้านดนตรี ศิลปะ กีฬา และการเคลื่อนไหว
๔. ครูมีเจตคติที่ดี มีกำลังใจ มีความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติงาน มีความรับผิดชอบ มีนิสัยรักเด็ก มีการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ พยายามปรับปรุงเทคนิคการสอนที่หลากหลาย
๕. สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนที่หลากหลาย
สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
๑. การจัดการเรียนการสอนของครู โดยเฉพาะการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
๒. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เขียนสื่อความ
๓. ทักษะการใช้สื่อ เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจการเรียนมากขึ้น
๔. ควรพัฒนาผู้เรียนให้ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองให้มากขึ้น
๕. ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญอย่าจริงจัง ในการให้ความร่วมมือช่วยเหลือดูแลการจัดการศึกษาของบุตรหลาน
แนวทางการพัฒนาในอนาคต
จากผลการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ข้อค้นพบที่ต้องพัฒนาต่อไป คือ
๑. การวางแผนในการจัดกิจกรรม การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความให้มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๒. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียนให้มากขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์
จัดทำเอกสารจดหมายข่าว วารสาร แก่ผู้ปกครองและชุมชน
๓. จัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ความต้องการช่วยเหลือในเรื่อง ต่อไปนี้
๑. การจัดสรรงบประมาณในด้านสื่อ เทคโนโลยี ที่ทันสมัยและเพียงพอกับ
นักเรียน
๒. การจัดสรรวัสดุ ครุภัณฑ์ เช่น โต๊ะนักเรียน เก้าอี้นักเรียน
๓. การจัดอัตรากำลังครูให้เพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นของสถานศึกษา
โดยเฉพาะครู เอกคณิตศาสตร์

ผู้ให้ข้อมูล นางสุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น
หน่วยงาน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๘
ณ วันที่ ๒๓ เดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๒

ใบงานครั้งที่ 1

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552 21:56 by สุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น 0 ความคิดเห็น
ให้นักศึกษาสรุปความหมายและความสำคัญพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในสถานศึกษา
1.“การจัดการ” จะเน้นการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่วางไว้) ซึ่งนิยมใช้ในการจัดการธุรกิจ ส่วนคำว่า “ผู้จัดการ” จะหมายถึงบุคคลในองค์กรซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบต่อกิจกรรมในการบริหารทรัพยากรและกิจการงานอื่นๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ขององค์กร เช่นการบริหารจัดการงานฝ่ายต่างๆ การบริหารจัดการแผนงาน/โครงการในสถานศึกษา ฯลฯการบริหาร คือกลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การสั่งการ หรือการอำนวย และการควบคุม ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญในการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน

2.“นวัตกรรม” มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม เช่นวิธีการสอนใหม่ๆ สื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ การใช้เทคโนโลยี สื่อ IT เพื่อการเรียนการสอน ฯลฯ

3.เทคโนโลยีการศึกษามีความหมายโดยตรงตามความหมายของเทคโนโลยี คือ ศาสตร์แห่งวิธีการ หรือการประยุกต์วิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา โดยคำว่า”วิทยาศาสตร์”ในที่นี้มุ่งเน้นที่วิชาพฤติกรรมศาสตร์ เพราะถือว่าพฤติกรรมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งเช่นเดียวกับวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น

4.ข้อมูล หมายถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ที่ใช้แทนด้วยตัวเลข ภาษาหรือสัญลักษณ์ที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งหรือประมวลผลใดๆ อาจแบ่งข้อมูลได้เป็น 3 ประเภท คือ1. ข้อเท็จจริงที่เป็นปริมาณ ระยะทาง2. ข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นตัวเลข เช่น ชื่อ ที่อยู่ สถานภาพ ประวัติการศึกษา และอื่น3. ข่าวสารที่ยังไม่ได้ประเมิน เช่น รายงาน บันทึก กฎหมาย

5.สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือมีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูลการขายรายวัน แล้วทำการประมวลผลเพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป

6.ระบบสารสนเทศ คือขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปใช้สนับสนุนการบริหาร และการตัดสินใจ ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล ดังต่อไปนี้ 1. รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ซึ่งจำเป็นต่อหน่วยงาน2. จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้ 3. จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้4. มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอเพื่อให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้องทันสมัยตลอดเวลา ขบวนการที่ทำให้เกิดข่าวสารสนเทศนี้เรียกว่า “การประมวลผลสารสนเทศ” และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมืออิเลคทรอนิกส์ว่า “ เทคโนโลยีสารสนเทศ”

7.ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึงคือขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา เพื่อเป็นข้อสรุปใช้สนับสนุนการบริหาร และการตัดสินใจ ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูงในการจัดการศึกษา

8.การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสาร ความคิด อารมณ์ ทักษะ ฯลฯ ด้วยการใช้สัญญลักษณ์ เช่นคำพูด รูปภาพ ตัวเลข กราฟ ฯลฯ การกระทำหรือกระบวนการในการถ่ายทอด

9.เครือข่าย หมายถึง 1.การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน สายเคเบิล (ทางตรง)และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม) 2.มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 3.มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้

10.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

11.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง “ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง, แปลง, จัดเก็บ, ประมวลผล, และค้นคืนสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา

สมัครสมาชิกใหม่

การจัดการความรู้คืออะไร




การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
1. บรรลุเป้าหมายของงาน
2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่

(1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
(2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
(3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
(4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
(5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้
(6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า “จัดการความรู้” จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ
(1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม
(2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ
(3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ
(4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย

ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา
งาน พัฒนางาน
คน พัฒนาคน
องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้
ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย
สัมมาทิฐิ : ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว
การจัดทีมริเริ่มดำเนินการ
การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง และดำเนินการต่อเนื่อง
การจัดการระบบการจัดการความรู้

แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง

องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)
1. “คน” ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น
3. “กระบวนการความรู้” นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม
องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราขการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือมุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ต่อไป